วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

รู้จักแหแล้วนะ.. แต่เคยงงหรือสงสัย? ความแตกต่างของแหและอวนไหม มันก็เป้นตาข่ายเหมือนๆกันใช่ไหม แต่ทำไม เขาเรียกต่างกัน ไปหาเรื่อง.. เอ่อ ไปเรียนรู้เรื่อง อวนกันเถอะคร่าบบ

อวนล้อมจับ

    อวนล้อมจับ หมายถึง เครื่องมือประมงที่มีลักษณะเป็นผืนอวนคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า วิธีการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำจะปล่อยผืนอวนล้อมรอบสัตว์น้ำ แล้วทำการปิดด้านล่างของผืนอวน
หลักการหรือกรรมวิธีที่สำคัญของเครื่องมือประเภทอวนล้อมจับ มีดังนี้
        1. ใช้วิธีปิดล้อมสัตว์น้ำ โดยการปล่อยอวนล้อมรอบสัตว์น้ำเป็นวงกลมหรือรูปไข่ เพื่อสกัดกั้นการเคลื่อนที่ของสัตว์น้ำในแนวราบ ส่วนในแนวดิ่งใช้ความลึกของอวนสกัดกั้นตัดหน้าฝูงสัตว์น้ำ
         2. ใช้กรรมวิธีปิดด้านล่างของผืนอวน (ตลอดผืน) เพื่อให้สัตว์น้ำหมดทางออกทางด้านล่างและว่ายวนเวียนอยู่ในวงอวน
         3. ทำการกู้อวนแล้วตักสัตว์น้ำขึ้นเรือ


อวน อวน อวน



 อวน


 อวน


 อวน


ชนิดเครื่องมือประเภทอวนล้อมจับ
          เครื่องมืออวนล้อมจับเป็นเครื่องมือที่ออกแบบขึ้นมาสำหรับใช้จับสัตว์น้ำชนิดที่อยู่รวมกันเป็นฝูง หรือล่อลวงให้รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ก่อน โดยใช้อุปกรณ์ช่วยทำการประมงประเภทซั้ง (Fish Aggregating Device; FADs) หรือแสงไฟ หลักการเลือกใช้ขนาดตาอวนของเครื่องมือนี้ต้องไม่ทำให้สัตว์น้ำเป้าหมายหลักติดอยู่ที่ตาอวนมากเกินไป เพราะจะทำให้อวนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น กู้อวนได้ช้า และสัตว์น้ำเสียคุณภาพ ด้วยเหตุนี้อวนล้อมจับจึงมีขนาดตาอวนหลายขนาด ขึ้นอยู่กับขนาดของสัตว์น้ำเป้าหมายหลัก การเรียกชื่อเครื่องมืออวนล้อมจับของไทยส่วนใหญ่ เรียกตามชาวประมง ซึ่งตั้งชื่อหลากหลาย บางชนิดเรียกชนิดสัตว์น้ำที่เป็นเป้าหมายหลัก เช่น อวนล้อมจับปลากะตัก อวน

        ดังนั้นการเรียกชื่อเครื่องมือในประเภทอวนล้อมจับกำหนดให้เป็นระบบเดียวกัน คือ ใช้ขนาดตาอวนเป็นตัวกำหนด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อข้อมูลทางการประมงทะเลในอนาคต แต่เนื่องจากอวนล้อมจับของไทยมีวิธีการปิดด้านล่างของผืนอวนอยู่ 2 วิธี คือ แบบมีสายมาน และแบบอื่นซึ่งไม่ใช้สายมาน จึงได้แยกชนิดของอวนล้อมจับออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ อวนล้อมจับมีสายมาน มี 5 ชนิด และอวนล้อมจับไม่มีสายมาน มี 2 ชนิด ซึ่งแบบมีสายมานนั้นจะพบมากที่สุด ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 99 ของอวนล้อมจับทั้งหมด


               1. อวนล้อมจับใช้สายมาน (Purse seine) 
                 สายมาน (Purse Line) เป็นชื่อเรียกเชือก หรือลวดสลิงที่ร้อยผ่านห่วงโลหะวงแหวนทุกห่วง ซึ่งผูกตลอดแนวด้านล่างผืนอวนมีระยะห่างกันพอควร ชาวประมงเรียกว่า ห่วงมาน (Purse ring) ส่วนที่เป็นสายมานจะใช้เพียงเส้นเดียว แต่อวนตังเก และอวนล้อมจับปลากะตักของไทยแบบมาเลเซีย จะแบ่งสายมานออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่ปีกซ้าย และปีกขวา โดยปลายเชือกข้างหนึ่งของเชือกทั้งสองจะผูกกับห่วงคลายเกลียวที่อยู่บริเวณกึ่งกลางอวน วิธีการปิดผืนอวนด้านล่างด้วยสายมานใช้วิธีการกว้านสายมานพร้อมกันทั้งสองข้างเก็บไว้บนเรือ จะทำให้ขอบล่างของผืนอวนมีขนาดเล็กลงตามลำดับ ในที่สุดจะปิดสนิทเมื่อห่วงมานมารวมกัน แล้วนำห่วงมานขึ้นบนเรือ หรือแขวนไว้ที่เรือ ชนิดเครื่องมือที่จัดอยู่ในกลุ่มอวนล้อมจับมีสายมานมี 5 ชนิด ดังนี้
                   1.1.1 อวนล้อมจับขนาดตาเล็กกว่า 10 มิลลิเมตร เครื่องมือนี้ เดิมเรียกกันว่า อวนล้อมจับปลากะตัก บางแห่งเรียกว่า อวนปลาหัวอ่อน หรืออวนปลาชิ้งชั้ง หรืออวนปลาจิ้งจั้ง จัดว่าเป็นอวนล้อมจับที่ใช้ตาอวนขนาดเล็กที่สุด ส่วนใหญ่มุ่งจับปลากะตักเป็นหลัก แต่จะใช้จับปลาอื่นๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่าปลากะตักก็ได้ แหล่งประมงน้ำลึก 5-45 เมตร ในอดีตทำการประมงเฉพาะเวลากลางวัน ในปัจจุบันมีทั้งแบบที่ทำเฉพาะกลางวัน และแบบที่ทำทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งในเวลากลางคืนชาวประมงจะใช้เรือปั่นไฟช่วยในการทำประมงด้วย

สัตว์น้ำที่จับได้ได้แก่ปลากะตักทุกขนาด และปลาผิวน้ำชนิดอื่นที่ปะปนมาด้วย อย่างเช่น ปลาทู-ลัง ปลาหลังเขียว ปลา
                             สีกุนชนิดต่างๆ ปลาสาก หมึกกล้วย เป้นต้น
                          
                           1.1.2 อวนล้อมจับขนาดตา 10.0 - 24.9 มิลลิเมตร  เครื่องมืออวนล้อมจับชนิดนี้ ชาวประมงเรียกว่า อวนล้อมลูกหมา อวนล้อมหมึก อวนล้อมหางยาว หรืออวนล้อมตะเกียง เพราะใช้เรือประมงขนาดเล็ก เครื่องยนต์มีทั้งแบบนอกเรือ(เรือหางยาว) และเครื่องยนต์ในเรือ รายที่ใช้เรือหางยาวมักเปลี่ยนไปใช้เครื่องมืออื่นหลังจากหมดฤดูจับปลาผิวน้ำหน้าหมู่บ้าน วิธีจับสัตว์น้ำมีทั้งแบบแล่นเรือหาฝูงและใช้แสงไฟล่อ ซึ่งเป์นแพตะเกียงหรือเรือปั้นไฟ ขนาดตาอวนที่นิยมใชัมีขนาดตา 16 – 20 มิลลิเมตร เหตุที่ใชัตาอวนขนาดนี้ เพราะตัองการหลีกเลี่ยงปัญหาปลาหลังเขียว และปลาทูขนาดเล็ก หรือปลาผิวน้ำ ชนิดอื่นที่มีขนาดใกลัเคียงกัน ติดอยู่ที่ตาอวน แหล่งประมงน้ำลึก 5 - 20 เมตร จํานวนคน 4 - 20 คน

สัตว์น้ำที่จับได้ได้แก่ปลาทู ปลาหลังเขียว ปลาสะดือขอ ปลาสีกุนชนิดต่างๆ และปลาแป้น เป็นต้น  

                    1.1.3 อวนล้อมจับขนาดตา 25.0 - 29.9 มิลลิเมตร  เครื่องมือชนิดนี้ใช้ตาอวนขนาด 25 มิลลิเมตร เดิมเป็นเครื่องมืออวนล้อมจับที่เรียกกันว่า อวนดํา อวนล้อมซั้ง และอวนตังเก (ใช้เรือสองลําวางอวน) เป็นอวนล้อมจับอีกชนิดหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ยกเว้นแบบอวนตังเก ซึ่งมีเฉพาะฝั่งอันดามันจํานวนไม่เกิน 20 ลํา วิธีการจับสัตว์น้ำมี 3 วิธี คือ วิธีที่หนึ่งแบบแล่นเรือหาฝูงปลา โดยใช้สายตา เอคโค่ซาวเดอร์หรือโซน่าร์ผสมกันแล้ววางอวนทันที วิธีที่สองแบบจับปลาที่ซั้ง 


สัตว์น้ำที่จับได้ได้แก่ปลาทู ปลาลัง ปลาสีกุนกลม ปลาสีกุนข้างเหลือง ปลาทูแขกปลาแข้งไก่ ปลาสีกุนตาโตปลา
                       หลังเขียว ชนิดต่างๆ ปลาโอปลาจะละเม็ดดํา ถ้าเป็นปลาที่ใช้จากการใช้แสงไฟล่อและซั้งจะมีปลาผิว
                       น้ำาหลายชนิดปะปนกัน

                 1.1.4 อวนลอมจับขนาดตา 30 - 45 มิลลิเมตร เครื่องมือชนิดนี้ใช้จับปลาทู ปลาลัง หรือปลาที่ใหญ่กว่าปลาทู อย่างเช่น ปลาสีกุนกลม ปลาโอ ไม่เหมาะที่จะใช้จับปลาหลังเขียว ปลาทูแขก ปลาสีกุนข้างเหลือง ส่วนใหญ่เนื้ออวนเป็นอวนไนล่อนสีเขียว ชาวประมงบางรายจึงเรียกอวนเขียว หรืออวนล้อมจับปลาทู จํานวนคนขึ้น
อยู่กับขนาดเรือ ส่วนใหญ่10 - 30 คน

สัตว์น้ำที่จับได้ได้แก่ปลาทู ปลาลัง ปลาสีกุนกลม ปลาแข้งไก่ปลาโอ เป็นต้น

                      1.1.5 อวนลอมจับขนาดตาอวนใหญ่กว่า  45 มิลลเมตร เครื่องมืออวนล้อมจับที่ใช้ตาอวนขนาดนี้ ได้แก่อวนล้อมจับปลาโอ ซึ่งพัฒนาขึ้นมาหลังจากปี2525 เป็นต้นมา ในอดีตใช้อวนล้อมจับขนาดตา 25 มิลลิเมตร และ 38 มิลลิเมตร จับปลาโอ ต่อมาราคาปลาโอสูงขึ้นมาก จึงมีชาวประมงมุ่งจับปลาโอโดยเฉพาะ และได้ออกแบบอวนล้อมจับใหม่ให้มีความยาวและความลึกรวมทั้งขนาดตาอวนมากกว่าอวนล้อมจับชนิดอื่น เพื่อให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของปลาโอซึ่งว่ายน้ำเร็ว เรืออวนล้อมจับที่ใช้ตาอวนขนาดนี้ส่วนหนึ่งออกไปทําประมงนอกน่านน้ำ ขนาดตาอวนที่เลือกใช้มีหลายขนาด เริ่มตั้งแต่ 47 มิลลิเมตรขึ้นไป และส่วนใหญ่จะมีขนาด 100 มิลลิเมตร ผสมอยู่บริเวณปักอวนซ้ายและขวาด้วยร้อยละ 20 - 40 ของความยาวอวน เพราะต้องการให้ปลาโอส่วนหนึ่งติดที่ตาอวน เพื่อลดแรงกดของปลาโอที่ตายบริเวณอวนคั้น จํานวนคนในเรือ 25 - 30 คน

สัตว์น้ำที่จับได ไดแก ปลาผิวน้ำขนาดใหญ เชน ปลาโอดํา โอลาย โอแกลบ ปลาโอทองแถบ ปลาแขงไก ปลาสีกุน
                        กลม ปลาทูกัง (ปลากดชนิดหนึ่ง)

              1.2 อวนลอมจับไมมีสายมาน (Lampara or Purse seine without purse line)
                       อวนลอมจับชนิดนี้ชาวประมงใชกันนอยมาก มีเพียง 2 ชนิด ที่ยังใชกันอยู คือ อวนลอมจับปลากะตัก (อวนกลัดขอ) และอวนลอมจับปลาหลังหิน (ปลาตามแนวหินปะการัง) ทั้งสองชนิดตางกันที่ขนาดตาอวน ปจจุบันคาดวามีจํานวนรวมกันไมเกิน 20 ลํา เนื่องจากหาลูกเรือที่ดําน้ำไดยาก ชาวประมงจึงปรับเปลี่ยนไปใชอวนแบบมีสายมาน หมูบานที่เปน แหลงกําเนิดและยังคงใชอยูคือ หมูบานอาวมะขามปอม อําเภอแกลง จังหวัดระยอง รายละเอียดของอวนลอมจับทั้งสองชนิดมีดังนี้
                  1.2.1 อวนล้อมจับไมมีสายมานขนาดตาอวนไมเกิน 10 มิลลิเมตร เครื่องมือนี้เดิมเรียกวา อวนลอมจับปลากะตักแบบกลัดขอ หรือเรียกสั้นๆ วา อวนกลัดขอ พบเฉพาะที่อาวมะขามปอม อําเภอแกลง จังหวัดระยอง เรือที่ใชเปนเรือขนาดเล็ก 10 - 14 เมตร ใชคน 6 - 7 คน ทําการประมงในบริเวณน้ำตื้น ความลึก 3 - 10 เมตร หากลึกเกินกวานี้อวนจะมี ประสิทธิภาพต่ำ ใชจับปลากะตักในเวลากลางวันเทานั้น ลักษณะพิเศษคือ ตองใชลูกเรือ 1 - 2 คน ทําหนาที่ดําน้ำกลัดขอใหขอบอวนคราว ลางปกซายและขวาทบติดกันกอนกูอวนขึ้นเรือ ซึ่งนับวันคนดําน้ำจะหาไดยากขึ้น ดังนั้นจํานวนของเครื่องมือชนิดนี้จึงไมขยายตัว ปจจุบันอาจกลาวไดวา ชาวประมงเลิกใชกันแลว โดยเปลี่ยนไปใชอวนลอมจับแบบมีสายมานที่ เรียกวา อวนลอมลงคัน ทําการจับปลากะตักแทน

 สัตวน้ำที่จับได ไดแก ปลากะตัก เคย และอาจไดปลาผิวน้ำบางชนิดที่กินปลากะตักดวย เชน ปลาสาก ปลาสีกุน                                เปนตน 


                        1.2.2 อวนลอมจับไมมีสายมานขนาดตาใหญกวา 10 มิลลิเมตร อวนลอมจับชนิดนี้คือ อวนลอมจับปลาหลังหินเดิม ชาวประมงเรียกวา อวนลอมหลัง- หิน อวนปลาหลังหินเปนอวนที่ออกแบบขึ้นสําหรับใชจับปลาชนิดที่ชอบอยูตามแนวหินปะการัง หินใตน้ำ เชน ปลากะพงแดง กะพงเหลือง ปลากะรัง ปลาสาก ปลาหางเหลือง ปลาสีกุนชนิดตางๆ เครื่องมืออวนและวิธีทําการประมงดัดแปลงมาจากอวนลอมจับปลากะตักแบบกลัดขอ สวนใหญใชตาอวนขนาด 25 มิลลิเมตร จํานวนคน 6 - 10 คน แหลงประมงน้ำลึก 5 - 20 เมตร ลักษณะเดนของเครื่องมือนี้คือ สามารถทําการวางอวนลอมรอบแนวหินปะการังได เพราสามารถ ดําน้ำปลดอวนที่ติดปะการัง หรือหินใตน้ำได แตชาวประมงนิยมใชกันนอยเนื่องจากแหลงประมงมีจํากัด

สัตวน้ำที่จับได สวนมากเปนปลาตามแนวหินปะการังชนิดตางๆ เชน ปลาหางเหลือง ปลาสาก ปลาสลิด
                        ทะเลปลานกแกว ปลากะพงชนิดตางๆ ปลาโฉมงาม ปลาสีกุนขนาดใหญชนิดตางๆ  

                 
                 
แบบสอบถามออนไลน์
    ต่อไปนี้ จะขอนำท่านผู้เยี่ยมชมทั้งหลาย เข้าสู่เรื่องของ เครื่องมือเครื่องใช้ ที่ชาวบ้านในชุมชนบางใบไม้ เขาใช้ในการดำเนินวิถีชีวิต กับครับ ที่รู้ๆกันอยู่ ชุมชนบางใบไม้ เป็นชุมชนชาวประมง ชุมชนหนึ่งเลย เครื่องมือเครื่องใช้ส่วนใหญ่ก็ประยุกต์เอาจากธรรมชาตินั่นแหละ เครื่องมือเครื่องใช้ที่จะพาไปดู รู้จักกันบ้างหม้ายยย... ไปทำความรู้จักกันเถอะ มายเฟรนด์..
        เริ่มที่เครืองมือที่เรียกว่า "แหจับปลา" ละกันนะ
แห
ประวัติความเป็นมา
แหเป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายตามหมู่บ้านชาวประมงโดยทั่วไป ทั้งในน่านน้ำเค็มและน้ำจืด ส่วนใหญ่ใช้ในเวลากลางวัน เพราะมองเห็นสัตว์น้ำได้ง่าย แหล่งประมงน้ำลึก 0.๕๐ ๑.๕๐ ม. ซึ่งอยู่ติดริมคลอง ชายหาดทราย หรือท่าเทียบเรือ โดยเดินหาฝูงปลากระบอกให้พบก่อนจึง เหวี่ยงแหลงไปครอบ การทอดแหรับกุ้งบางครั้งต้องทอดแบบเดาสุ่มส่วนการใช้แหหมึกท าการประมงเฉพาะคืนเดียวเดือนมืด ในบริเวณน้ำลึก ๖-๑๐ ม. ส่วนใหญ่ทอดสมอเรือ ๒ ตัวยึดหัวเรือ และท้ายเรือแล้วเปิดไฟล่อรอเวลาให้หมึกมาตอมแสงไฟ
       แห ถือเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งสําหรับใช้จับปลา ซึ่งส่วนมาก จะใช้กันในบริเวณที่จะมีแหล่งน้ำขนาดเล็กมากมาย ส่วนหนอง, บึง, หรือแม่น้ำขนาดใหญ่จะมีน้ำอยู่มากและไม่สามารถเก็บน้ำได้ตลอดปี วิธีจับปลาที่ได้ผลเร็วและสะดวกที่สุดของชาวชนบทอีสาน ก็คือการใช้แหเท่านั้น ดังนั้น แหจึงมีหลายขนาด หลายชนิด ด้วยความจําเป็นเพื่อการยังชีพในอดีตแทบทุกครัวเรือนของ ชาวบ้าน จึงมีแหไว้จับปลา และถ่ายทอดภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับ แห ไว้อย่างต่อเนื่อง
 ดังความเชื่อโบราณหรือเป็นวิถีชีวิตปกติ (Folk way) ที่ว่า ชายที่หว่านแหไม้มน” (กลม) ถือเป็นชายที่ไม่สมบูรณ์พอที่จะแต่งงานได้ดังนั้นต้องฝึกหัดเหวี่ยงแหให้มนก่อน คือหาอยู่หากินได้พ่อตาจึงจะยกลูกสาวให้

 อดีต แหทําจากเชือกป้านหรือ ปอเทือง ซึ่งได้จากการปลูก แล้วตัดตนป้านหรือปอเทืองนี้ แช่น้ำ 1015 วัน แล้วนำมาทุบให้เนื้อไม้แตกเปนเส้นๆ แล้วนําแผ่นเหล็กมาขูดให้เป็นเส้นๆ แล็วนําไปตากแห็ง และปั้นเป็นเชือกใช้สานแห ซึ่งลําบากมาก และปัจจุบันไม่ให้เห็น เพราะใช้ด้ายไนล่อนแทนที่แล้ว นี่คือความเปลี่ยนแปลงที่ทีผลต่อวัฒนธรรมในเรื่องดังกล่าวที่ชัดเจน

มาดูหน้าตาแหกัน เป็นยังไง


เวลาใช้งาน ก็เหวี่ยงงงงง อย่างนี้นะ


แห

แหทุกชนิดมีลักษณะเหมือนกัน เมื่อแผ่ออกจะเป็นรูปวงกลม ขอบตีน แหจะมีโซ่ทำด้วยเหล็กหรือตะกั่วขนาดความหนา ๒ มม. เพื่อใช้ถ่วงแหให้จมตัว ได้เร็ว ขนาดของแหเส้นรอบวง ๑๐ - ๒๘ ม. ขนาดตาอวนขึ้นอยู่กับสัตว์น้ำ เป้าหมาย ถ้าเป็นแหกุ้ง จะมีขนาดตา ๒๐-๒๕ มม. แหปลากระบอกใช้ขนาดตา๓๐ - ๓๕ มม. และแหหมึกจะมีขนาด ๒๕-๓๐ มม. ความสูงหรือรัศมีของแห ขนาดเล็กทั่วไป ประมาณ ๑.๗๐ ๔.๕๐ ม. โดยแหหมึกจะมีขนาดใหญ่สุด ในการทำการประมง แหปลากระบอกและแหกุ้ง

 ประโยชน์ใช้สอย
เป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ าพวกปลา กุ้ง ปู


วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

หวัดดีคร่าบบบ ผู้เยี่ยมชมทั้งหลาย วันนี้มีสาระดีๆมีนำเสนอกันครับ โดยการนำท่านผู้เยี่ยมชมทั้งหลาย เข้าสู่ดินแดน "ชุมชนบางใบไม้" ไปชมอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่ชาวบ้านที่นี่ เขาใช้ในการดำรงชีวิตเป็นเวลานานแสนนนนาน กันคร่าบบบผม.. ก่อนอื่น เราต้องทราบเรื่อง ที่เราจำเป็นจะต้องทราบก่อนนะครับ เริ่มที่..เรามาเรียนรู้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติของชุมชนบางใบไม้ เล็กๆน้อยๆก่อนดีกว่าครับ..

ชุมชนบางใบ้ไม้ 
          ชุมชนเก่าแก่เริ่มแรกของชาวในบาง ชุมชนที่สั่งสมอารยธรรมมาเป็นร้อยๆปี ศูนย์กลางทางสังคมของชาวบางใบไม้ก็คือวัดบางใบไม้  ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองของชาวบางใบไม้ วัดบางใบไม้สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ.2433-2446 เป็นหลักฐานที่แสดงว่าชุมชนแห่งนี้เติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ต่อมาเกิดโรคระบาด ชาวบ้านล้มตายเป็นจำนวนมาก ที่เหลือก็ต้องอพยพทิ้งบ้านไปอยู่ที่อื่น จนเกือบร้างไปทั้งบาง พ่อท่านขำ เจ้าอาวาสวัดบางใบไม้ในขณะนั้น ได้ปลุกเสกข้าวก้นบาตร ปั้นเป็นพระพุทธรูป เพื่อขจัดปัดเป่าภูตผีเภทภัยร้ายที่รังควาญชาวบ้าน และเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ช่วยให้ชาวบ้านในบางในสมัยนั้น ได้คลายทุกข์คลายกังวลกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ จากนั้นก็มีคนปั้นข้าวสุกพอก สร้างต่อเติมองค์หลวงพ่อข้าวสุขเรื่อยมา จนองค์ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายได้มีการหล่อทองแดงหุ้มองค์หลวงพ่อข้าวสุขในปางสมาธิ เพราะมีลักษณะหลังโค้งงอไปข้างหน้า
       คำว่า ข้าวสุข สะกดด้วย ข. นั้น ก็เนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า ข้าวแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์เป็นอู่ข้างอู่น้ำ สุข ก็คือ ความอยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากทุกข์โศก นับเป็นปริศนาธรรม ที่แฝงมากับหลวงพ่อข้าวสุข พระพุทธรูปที่ชาวบางใบไม้เลื่อมใสศรัทธามาเกือบ 200 ปี และตลอดไป


หลวงพ่อข้าวสุข แห่งวัดบางใบไม้

        บางใบไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้รับอิทธิพลทั้งจากน้ำจืดและน้ำทะเล ที่สายน้ำเคลื่อนไหวสองทางสลับกันตามการขึ้นลงของน้ำทะเล พืชพรรณส่วนใหญ่เป็นพืชที่ชอบน้ำกร่อย โดยเฉพาะต้นจากที่เห็นขึ้นอยู่หนาแน่นตลอดสองฟากฝั่งคลองที่มีเป็นร้อยสายของแผ่นดินที่เราเรียกว่าในบาง จากเป็นพืชที่มีลำต้นตั้งตรงอยู่ใต้ดิน ซึ่งมักจะเป็นดินโคลน ส่วนที่เราเห็นของจากนั้น คือส่วนใบและช่อดอกเท่านั้น โดยที่โคนใบมีกะเปาะอากาศ ช่วยพยุงให้ใบชูขึ้นเหมือนชูชีพ แม้ว่าลำต้นของจากจะอยู่ใต้ดิน แต่ใบที่โผล่ขึ้นมานั้น อาจชูขึ้นไปสูงได้ถึง 9 เมตร โดยไม่มีส่วนของลำต้นให้เห็นเลย ที่บางใบไม้นี้จะเห็นมีอยู่หลายคลองที่ปลายของใบจากจากสองฝั่งคลองโน้มตัวโค้งเข้าหากันเป็นอุโมงค์ ดูสวยงามและน่าตื่นตาเมื่อนั่งเรือลอดผ่านอุโมงค์ใบจากเหล่านี้
        บางใบไม้วันนี้ เป็นชุมชนที่เจริญขึ้น ความเป็นเมืองเริ่มข้ามฝั่งมาตั้งแต่มีสะพานทอดเชื่อมบางใบไม้และบ้านดอนเข้าหากัน ถนนหนทางตัดผ่านเข้าถึงแทบทุกชุมชน ความเป็นชุมชนชาวบางใบไม้ในอดีตกำลังเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน ผู้คนจากถิ่นอื่นเข้ามาอาศัยมากขึ้นการใช้สายน้ำเป็นทางสัญจร ลดน้อยลงทุกวัน ลำคลองลำบางกำลังตื้นเขิน คนบางใบไม้รุ่นหลังต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อของกินของใช้ จากอดีตที่มีของกินเหลือเฟือจนแทบไม่ต้องซื้อกิน แต่ขณะเดียวกันความเป็นอยู่แบบเดิมๆของชาวบางใบไม้ ก็เป็นสิ่งที่คนภายนอกอยากรู้จัก อยากเข้ามาสัมผัสด้วยตัวเอง จึงเกิดการจัดการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ในแบบการท่องเที่ยวชุมชน ที่เรียกว่า "คลองร้อยสาย"

มีรูปภาพมาฝาก..ครับ สำหรับ "คลองร้อยสาย"







            "คลองร้อยสาย"แหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวจะได้พบกับสภาพธรรมชาติของบางใบไม้ ชมวิถีชีวิตแบบเดิมๆของชาวบางใบไม้ ชมการใช้ลิงเก็บมะพร้าว ดูงานโรงปอกมะพร้าว ชมการเย็บจากที่ยังทำกันเป็นอาชีพอยู่จริง ชมการสาธิตการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆจากต้นจาก ซื้อหาของที่ระลึกอันเป็นผลผลิตจากชาวในบาง และถ้ามีเวลามากก็ลองใช้ชีวิตกับชาวในบางในแบบโฮมสเตย์ ก็มีให้บริการ ซึ่งเส้นทางท่องเที่ยวคลองร้อยสาย แม่น้ำตาปี เป็นหนึ่งในเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro  tourism) ของเมืองไทยด้วย

ประวัติโดยทั่วไป
      ตำบลบางใบไม้ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฏร์ธานี เป็นตำบลที่มีลำคลองเป็นจำนวนมาก สองข้างเป็นป่าไม้เบญจพรรณ ในลำคลองจะมีใบไม้ลอยทับถมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้น้ำขึ้นลงไม่สะดวก ซึ่งเกิดขึ้นในทุกหมู่บ้านทั้งตำบล ราษฏรจึงได้ให้ชื่อว่าตำบลบางใบไม้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้

สภาพโดยทั่วไป
          มีพื้นที่ 10.14 ตารางกิโลเมตร (6,576 ไร่) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่าน ตั้งอยู่หางจากที่ว่าการอำเภอเมืองระยะทาง 2 กิโลเมตร ประกอบด้วย 5 หมู่บ้าน

อาณาเขตตำบล :
            ทิศเหนือ     ติดกับ ต.บางไทร อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี
            ทิศใต้        ติดกับ แม่น้ำตาปี
           ทิศตะวันออก ติดกับ ต.บางชนะ อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี

            ทิศตะวันตก  ติดกับ ต.บางไทร อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี

จำนวนประชากรของตำบล
         จำนวนประชากร ในเขต อบต. 2,344 คน และจำนวนหลังคาเรือน 984 หลังคาเรือน

อาชีพของตำบล
         อาชีพหลัก ทำสวน/ทำไร่ อาชีพเสริม เย็บจาก/ทำน้ำส้มจาก