วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

    ต่อไปนี้ จะขอนำท่านผู้เยี่ยมชมทั้งหลาย เข้าสู่เรื่องของ เครื่องมือเครื่องใช้ ที่ชาวบ้านในชุมชนบางใบไม้ เขาใช้ในการดำเนินวิถีชีวิต กับครับ ที่รู้ๆกันอยู่ ชุมชนบางใบไม้ เป็นชุมชนชาวประมง ชุมชนหนึ่งเลย เครื่องมือเครื่องใช้ส่วนใหญ่ก็ประยุกต์เอาจากธรรมชาตินั่นแหละ เครื่องมือเครื่องใช้ที่จะพาไปดู รู้จักกันบ้างหม้ายยย... ไปทำความรู้จักกันเถอะ มายเฟรนด์..
        เริ่มที่เครืองมือที่เรียกว่า "แหจับปลา" ละกันนะ
แห
ประวัติความเป็นมา
แหเป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายตามหมู่บ้านชาวประมงโดยทั่วไป ทั้งในน่านน้ำเค็มและน้ำจืด ส่วนใหญ่ใช้ในเวลากลางวัน เพราะมองเห็นสัตว์น้ำได้ง่าย แหล่งประมงน้ำลึก 0.๕๐ ๑.๕๐ ม. ซึ่งอยู่ติดริมคลอง ชายหาดทราย หรือท่าเทียบเรือ โดยเดินหาฝูงปลากระบอกให้พบก่อนจึง เหวี่ยงแหลงไปครอบ การทอดแหรับกุ้งบางครั้งต้องทอดแบบเดาสุ่มส่วนการใช้แหหมึกท าการประมงเฉพาะคืนเดียวเดือนมืด ในบริเวณน้ำลึก ๖-๑๐ ม. ส่วนใหญ่ทอดสมอเรือ ๒ ตัวยึดหัวเรือ และท้ายเรือแล้วเปิดไฟล่อรอเวลาให้หมึกมาตอมแสงไฟ
       แห ถือเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งสําหรับใช้จับปลา ซึ่งส่วนมาก จะใช้กันในบริเวณที่จะมีแหล่งน้ำขนาดเล็กมากมาย ส่วนหนอง, บึง, หรือแม่น้ำขนาดใหญ่จะมีน้ำอยู่มากและไม่สามารถเก็บน้ำได้ตลอดปี วิธีจับปลาที่ได้ผลเร็วและสะดวกที่สุดของชาวชนบทอีสาน ก็คือการใช้แหเท่านั้น ดังนั้น แหจึงมีหลายขนาด หลายชนิด ด้วยความจําเป็นเพื่อการยังชีพในอดีตแทบทุกครัวเรือนของ ชาวบ้าน จึงมีแหไว้จับปลา และถ่ายทอดภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับ แห ไว้อย่างต่อเนื่อง
 ดังความเชื่อโบราณหรือเป็นวิถีชีวิตปกติ (Folk way) ที่ว่า ชายที่หว่านแหไม้มน” (กลม) ถือเป็นชายที่ไม่สมบูรณ์พอที่จะแต่งงานได้ดังนั้นต้องฝึกหัดเหวี่ยงแหให้มนก่อน คือหาอยู่หากินได้พ่อตาจึงจะยกลูกสาวให้

 อดีต แหทําจากเชือกป้านหรือ ปอเทือง ซึ่งได้จากการปลูก แล้วตัดตนป้านหรือปอเทืองนี้ แช่น้ำ 1015 วัน แล้วนำมาทุบให้เนื้อไม้แตกเปนเส้นๆ แล้วนําแผ่นเหล็กมาขูดให้เป็นเส้นๆ แล็วนําไปตากแห็ง และปั้นเป็นเชือกใช้สานแห ซึ่งลําบากมาก และปัจจุบันไม่ให้เห็น เพราะใช้ด้ายไนล่อนแทนที่แล้ว นี่คือความเปลี่ยนแปลงที่ทีผลต่อวัฒนธรรมในเรื่องดังกล่าวที่ชัดเจน

มาดูหน้าตาแหกัน เป็นยังไง


เวลาใช้งาน ก็เหวี่ยงงงงง อย่างนี้นะ


แห

แหทุกชนิดมีลักษณะเหมือนกัน เมื่อแผ่ออกจะเป็นรูปวงกลม ขอบตีน แหจะมีโซ่ทำด้วยเหล็กหรือตะกั่วขนาดความหนา ๒ มม. เพื่อใช้ถ่วงแหให้จมตัว ได้เร็ว ขนาดของแหเส้นรอบวง ๑๐ - ๒๘ ม. ขนาดตาอวนขึ้นอยู่กับสัตว์น้ำ เป้าหมาย ถ้าเป็นแหกุ้ง จะมีขนาดตา ๒๐-๒๕ มม. แหปลากระบอกใช้ขนาดตา๓๐ - ๓๕ มม. และแหหมึกจะมีขนาด ๒๕-๓๐ มม. ความสูงหรือรัศมีของแห ขนาดเล็กทั่วไป ประมาณ ๑.๗๐ ๔.๕๐ ม. โดยแหหมึกจะมีขนาดใหญ่สุด ในการทำการประมง แหปลากระบอกและแหกุ้ง

 ประโยชน์ใช้สอย
เป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ าพวกปลา กุ้ง ปู


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น