วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

รู้จักแหแล้วนะ.. แต่เคยงงหรือสงสัย? ความแตกต่างของแหและอวนไหม มันก็เป้นตาข่ายเหมือนๆกันใช่ไหม แต่ทำไม เขาเรียกต่างกัน ไปหาเรื่อง.. เอ่อ ไปเรียนรู้เรื่อง อวนกันเถอะคร่าบบ

อวนล้อมจับ

    อวนล้อมจับ หมายถึง เครื่องมือประมงที่มีลักษณะเป็นผืนอวนคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า วิธีการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำจะปล่อยผืนอวนล้อมรอบสัตว์น้ำ แล้วทำการปิดด้านล่างของผืนอวน
หลักการหรือกรรมวิธีที่สำคัญของเครื่องมือประเภทอวนล้อมจับ มีดังนี้
        1. ใช้วิธีปิดล้อมสัตว์น้ำ โดยการปล่อยอวนล้อมรอบสัตว์น้ำเป็นวงกลมหรือรูปไข่ เพื่อสกัดกั้นการเคลื่อนที่ของสัตว์น้ำในแนวราบ ส่วนในแนวดิ่งใช้ความลึกของอวนสกัดกั้นตัดหน้าฝูงสัตว์น้ำ
         2. ใช้กรรมวิธีปิดด้านล่างของผืนอวน (ตลอดผืน) เพื่อให้สัตว์น้ำหมดทางออกทางด้านล่างและว่ายวนเวียนอยู่ในวงอวน
         3. ทำการกู้อวนแล้วตักสัตว์น้ำขึ้นเรือ


อวน อวน อวน



 อวน


 อวน


 อวน


ชนิดเครื่องมือประเภทอวนล้อมจับ
          เครื่องมืออวนล้อมจับเป็นเครื่องมือที่ออกแบบขึ้นมาสำหรับใช้จับสัตว์น้ำชนิดที่อยู่รวมกันเป็นฝูง หรือล่อลวงให้รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ก่อน โดยใช้อุปกรณ์ช่วยทำการประมงประเภทซั้ง (Fish Aggregating Device; FADs) หรือแสงไฟ หลักการเลือกใช้ขนาดตาอวนของเครื่องมือนี้ต้องไม่ทำให้สัตว์น้ำเป้าหมายหลักติดอยู่ที่ตาอวนมากเกินไป เพราะจะทำให้อวนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น กู้อวนได้ช้า และสัตว์น้ำเสียคุณภาพ ด้วยเหตุนี้อวนล้อมจับจึงมีขนาดตาอวนหลายขนาด ขึ้นอยู่กับขนาดของสัตว์น้ำเป้าหมายหลัก การเรียกชื่อเครื่องมืออวนล้อมจับของไทยส่วนใหญ่ เรียกตามชาวประมง ซึ่งตั้งชื่อหลากหลาย บางชนิดเรียกชนิดสัตว์น้ำที่เป็นเป้าหมายหลัก เช่น อวนล้อมจับปลากะตัก อวน

        ดังนั้นการเรียกชื่อเครื่องมือในประเภทอวนล้อมจับกำหนดให้เป็นระบบเดียวกัน คือ ใช้ขนาดตาอวนเป็นตัวกำหนด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อข้อมูลทางการประมงทะเลในอนาคต แต่เนื่องจากอวนล้อมจับของไทยมีวิธีการปิดด้านล่างของผืนอวนอยู่ 2 วิธี คือ แบบมีสายมาน และแบบอื่นซึ่งไม่ใช้สายมาน จึงได้แยกชนิดของอวนล้อมจับออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ อวนล้อมจับมีสายมาน มี 5 ชนิด และอวนล้อมจับไม่มีสายมาน มี 2 ชนิด ซึ่งแบบมีสายมานนั้นจะพบมากที่สุด ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 99 ของอวนล้อมจับทั้งหมด


               1. อวนล้อมจับใช้สายมาน (Purse seine) 
                 สายมาน (Purse Line) เป็นชื่อเรียกเชือก หรือลวดสลิงที่ร้อยผ่านห่วงโลหะวงแหวนทุกห่วง ซึ่งผูกตลอดแนวด้านล่างผืนอวนมีระยะห่างกันพอควร ชาวประมงเรียกว่า ห่วงมาน (Purse ring) ส่วนที่เป็นสายมานจะใช้เพียงเส้นเดียว แต่อวนตังเก และอวนล้อมจับปลากะตักของไทยแบบมาเลเซีย จะแบ่งสายมานออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่ปีกซ้าย และปีกขวา โดยปลายเชือกข้างหนึ่งของเชือกทั้งสองจะผูกกับห่วงคลายเกลียวที่อยู่บริเวณกึ่งกลางอวน วิธีการปิดผืนอวนด้านล่างด้วยสายมานใช้วิธีการกว้านสายมานพร้อมกันทั้งสองข้างเก็บไว้บนเรือ จะทำให้ขอบล่างของผืนอวนมีขนาดเล็กลงตามลำดับ ในที่สุดจะปิดสนิทเมื่อห่วงมานมารวมกัน แล้วนำห่วงมานขึ้นบนเรือ หรือแขวนไว้ที่เรือ ชนิดเครื่องมือที่จัดอยู่ในกลุ่มอวนล้อมจับมีสายมานมี 5 ชนิด ดังนี้
                   1.1.1 อวนล้อมจับขนาดตาเล็กกว่า 10 มิลลิเมตร เครื่องมือนี้ เดิมเรียกกันว่า อวนล้อมจับปลากะตัก บางแห่งเรียกว่า อวนปลาหัวอ่อน หรืออวนปลาชิ้งชั้ง หรืออวนปลาจิ้งจั้ง จัดว่าเป็นอวนล้อมจับที่ใช้ตาอวนขนาดเล็กที่สุด ส่วนใหญ่มุ่งจับปลากะตักเป็นหลัก แต่จะใช้จับปลาอื่นๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่าปลากะตักก็ได้ แหล่งประมงน้ำลึก 5-45 เมตร ในอดีตทำการประมงเฉพาะเวลากลางวัน ในปัจจุบันมีทั้งแบบที่ทำเฉพาะกลางวัน และแบบที่ทำทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งในเวลากลางคืนชาวประมงจะใช้เรือปั่นไฟช่วยในการทำประมงด้วย

สัตว์น้ำที่จับได้ได้แก่ปลากะตักทุกขนาด และปลาผิวน้ำชนิดอื่นที่ปะปนมาด้วย อย่างเช่น ปลาทู-ลัง ปลาหลังเขียว ปลา
                             สีกุนชนิดต่างๆ ปลาสาก หมึกกล้วย เป้นต้น
                          
                           1.1.2 อวนล้อมจับขนาดตา 10.0 - 24.9 มิลลิเมตร  เครื่องมืออวนล้อมจับชนิดนี้ ชาวประมงเรียกว่า อวนล้อมลูกหมา อวนล้อมหมึก อวนล้อมหางยาว หรืออวนล้อมตะเกียง เพราะใช้เรือประมงขนาดเล็ก เครื่องยนต์มีทั้งแบบนอกเรือ(เรือหางยาว) และเครื่องยนต์ในเรือ รายที่ใช้เรือหางยาวมักเปลี่ยนไปใช้เครื่องมืออื่นหลังจากหมดฤดูจับปลาผิวน้ำหน้าหมู่บ้าน วิธีจับสัตว์น้ำมีทั้งแบบแล่นเรือหาฝูงและใช้แสงไฟล่อ ซึ่งเป์นแพตะเกียงหรือเรือปั้นไฟ ขนาดตาอวนที่นิยมใชัมีขนาดตา 16 – 20 มิลลิเมตร เหตุที่ใชัตาอวนขนาดนี้ เพราะตัองการหลีกเลี่ยงปัญหาปลาหลังเขียว และปลาทูขนาดเล็ก หรือปลาผิวน้ำ ชนิดอื่นที่มีขนาดใกลัเคียงกัน ติดอยู่ที่ตาอวน แหล่งประมงน้ำลึก 5 - 20 เมตร จํานวนคน 4 - 20 คน

สัตว์น้ำที่จับได้ได้แก่ปลาทู ปลาหลังเขียว ปลาสะดือขอ ปลาสีกุนชนิดต่างๆ และปลาแป้น เป็นต้น  

                    1.1.3 อวนล้อมจับขนาดตา 25.0 - 29.9 มิลลิเมตร  เครื่องมือชนิดนี้ใช้ตาอวนขนาด 25 มิลลิเมตร เดิมเป็นเครื่องมืออวนล้อมจับที่เรียกกันว่า อวนดํา อวนล้อมซั้ง และอวนตังเก (ใช้เรือสองลําวางอวน) เป็นอวนล้อมจับอีกชนิดหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ยกเว้นแบบอวนตังเก ซึ่งมีเฉพาะฝั่งอันดามันจํานวนไม่เกิน 20 ลํา วิธีการจับสัตว์น้ำมี 3 วิธี คือ วิธีที่หนึ่งแบบแล่นเรือหาฝูงปลา โดยใช้สายตา เอคโค่ซาวเดอร์หรือโซน่าร์ผสมกันแล้ววางอวนทันที วิธีที่สองแบบจับปลาที่ซั้ง 


สัตว์น้ำที่จับได้ได้แก่ปลาทู ปลาลัง ปลาสีกุนกลม ปลาสีกุนข้างเหลือง ปลาทูแขกปลาแข้งไก่ ปลาสีกุนตาโตปลา
                       หลังเขียว ชนิดต่างๆ ปลาโอปลาจะละเม็ดดํา ถ้าเป็นปลาที่ใช้จากการใช้แสงไฟล่อและซั้งจะมีปลาผิว
                       น้ำาหลายชนิดปะปนกัน

                 1.1.4 อวนลอมจับขนาดตา 30 - 45 มิลลิเมตร เครื่องมือชนิดนี้ใช้จับปลาทู ปลาลัง หรือปลาที่ใหญ่กว่าปลาทู อย่างเช่น ปลาสีกุนกลม ปลาโอ ไม่เหมาะที่จะใช้จับปลาหลังเขียว ปลาทูแขก ปลาสีกุนข้างเหลือง ส่วนใหญ่เนื้ออวนเป็นอวนไนล่อนสีเขียว ชาวประมงบางรายจึงเรียกอวนเขียว หรืออวนล้อมจับปลาทู จํานวนคนขึ้น
อยู่กับขนาดเรือ ส่วนใหญ่10 - 30 คน

สัตว์น้ำที่จับได้ได้แก่ปลาทู ปลาลัง ปลาสีกุนกลม ปลาแข้งไก่ปลาโอ เป็นต้น

                      1.1.5 อวนลอมจับขนาดตาอวนใหญ่กว่า  45 มิลลเมตร เครื่องมืออวนล้อมจับที่ใช้ตาอวนขนาดนี้ ได้แก่อวนล้อมจับปลาโอ ซึ่งพัฒนาขึ้นมาหลังจากปี2525 เป็นต้นมา ในอดีตใช้อวนล้อมจับขนาดตา 25 มิลลิเมตร และ 38 มิลลิเมตร จับปลาโอ ต่อมาราคาปลาโอสูงขึ้นมาก จึงมีชาวประมงมุ่งจับปลาโอโดยเฉพาะ และได้ออกแบบอวนล้อมจับใหม่ให้มีความยาวและความลึกรวมทั้งขนาดตาอวนมากกว่าอวนล้อมจับชนิดอื่น เพื่อให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของปลาโอซึ่งว่ายน้ำเร็ว เรืออวนล้อมจับที่ใช้ตาอวนขนาดนี้ส่วนหนึ่งออกไปทําประมงนอกน่านน้ำ ขนาดตาอวนที่เลือกใช้มีหลายขนาด เริ่มตั้งแต่ 47 มิลลิเมตรขึ้นไป และส่วนใหญ่จะมีขนาด 100 มิลลิเมตร ผสมอยู่บริเวณปักอวนซ้ายและขวาด้วยร้อยละ 20 - 40 ของความยาวอวน เพราะต้องการให้ปลาโอส่วนหนึ่งติดที่ตาอวน เพื่อลดแรงกดของปลาโอที่ตายบริเวณอวนคั้น จํานวนคนในเรือ 25 - 30 คน

สัตว์น้ำที่จับได ไดแก ปลาผิวน้ำขนาดใหญ เชน ปลาโอดํา โอลาย โอแกลบ ปลาโอทองแถบ ปลาแขงไก ปลาสีกุน
                        กลม ปลาทูกัง (ปลากดชนิดหนึ่ง)

              1.2 อวนลอมจับไมมีสายมาน (Lampara or Purse seine without purse line)
                       อวนลอมจับชนิดนี้ชาวประมงใชกันนอยมาก มีเพียง 2 ชนิด ที่ยังใชกันอยู คือ อวนลอมจับปลากะตัก (อวนกลัดขอ) และอวนลอมจับปลาหลังหิน (ปลาตามแนวหินปะการัง) ทั้งสองชนิดตางกันที่ขนาดตาอวน ปจจุบันคาดวามีจํานวนรวมกันไมเกิน 20 ลํา เนื่องจากหาลูกเรือที่ดําน้ำไดยาก ชาวประมงจึงปรับเปลี่ยนไปใชอวนแบบมีสายมาน หมูบานที่เปน แหลงกําเนิดและยังคงใชอยูคือ หมูบานอาวมะขามปอม อําเภอแกลง จังหวัดระยอง รายละเอียดของอวนลอมจับทั้งสองชนิดมีดังนี้
                  1.2.1 อวนล้อมจับไมมีสายมานขนาดตาอวนไมเกิน 10 มิลลิเมตร เครื่องมือนี้เดิมเรียกวา อวนลอมจับปลากะตักแบบกลัดขอ หรือเรียกสั้นๆ วา อวนกลัดขอ พบเฉพาะที่อาวมะขามปอม อําเภอแกลง จังหวัดระยอง เรือที่ใชเปนเรือขนาดเล็ก 10 - 14 เมตร ใชคน 6 - 7 คน ทําการประมงในบริเวณน้ำตื้น ความลึก 3 - 10 เมตร หากลึกเกินกวานี้อวนจะมี ประสิทธิภาพต่ำ ใชจับปลากะตักในเวลากลางวันเทานั้น ลักษณะพิเศษคือ ตองใชลูกเรือ 1 - 2 คน ทําหนาที่ดําน้ำกลัดขอใหขอบอวนคราว ลางปกซายและขวาทบติดกันกอนกูอวนขึ้นเรือ ซึ่งนับวันคนดําน้ำจะหาไดยากขึ้น ดังนั้นจํานวนของเครื่องมือชนิดนี้จึงไมขยายตัว ปจจุบันอาจกลาวไดวา ชาวประมงเลิกใชกันแลว โดยเปลี่ยนไปใชอวนลอมจับแบบมีสายมานที่ เรียกวา อวนลอมลงคัน ทําการจับปลากะตักแทน

 สัตวน้ำที่จับได ไดแก ปลากะตัก เคย และอาจไดปลาผิวน้ำบางชนิดที่กินปลากะตักดวย เชน ปลาสาก ปลาสีกุน                                เปนตน 


                        1.2.2 อวนลอมจับไมมีสายมานขนาดตาใหญกวา 10 มิลลิเมตร อวนลอมจับชนิดนี้คือ อวนลอมจับปลาหลังหินเดิม ชาวประมงเรียกวา อวนลอมหลัง- หิน อวนปลาหลังหินเปนอวนที่ออกแบบขึ้นสําหรับใชจับปลาชนิดที่ชอบอยูตามแนวหินปะการัง หินใตน้ำ เชน ปลากะพงแดง กะพงเหลือง ปลากะรัง ปลาสาก ปลาหางเหลือง ปลาสีกุนชนิดตางๆ เครื่องมืออวนและวิธีทําการประมงดัดแปลงมาจากอวนลอมจับปลากะตักแบบกลัดขอ สวนใหญใชตาอวนขนาด 25 มิลลิเมตร จํานวนคน 6 - 10 คน แหลงประมงน้ำลึก 5 - 20 เมตร ลักษณะเดนของเครื่องมือนี้คือ สามารถทําการวางอวนลอมรอบแนวหินปะการังได เพราสามารถ ดําน้ำปลดอวนที่ติดปะการัง หรือหินใตน้ำได แตชาวประมงนิยมใชกันนอยเนื่องจากแหลงประมงมีจํากัด

สัตวน้ำที่จับได สวนมากเปนปลาตามแนวหินปะการังชนิดตางๆ เชน ปลาหางเหลือง ปลาสาก ปลาสลิด
                        ทะเลปลานกแกว ปลากะพงชนิดตางๆ ปลาโฉมงาม ปลาสีกุนขนาดใหญชนิดตางๆ  

                 
                 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น