จบไปแล้วเรื่องของกระรอก..ฮ้ะ เอร้ยย.... ลอบ
5555 (เล่นเอง...ขำเอง) อย่าช้าเลยไปเรียนรู้การทำหลังคามุงจากกันดีกว่า เรื่องของ
“ใบจาก”
“จาก” ของดีบางใบไม้
ก่อนที่เทคโนโลยีสมัยใหม่จะเข้ามาแทนที่
หมู่บ้านบางใบไม้คงใช้วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมที่สืบทอดกนมาจนชั่วลูกชั่วหลาน
ปัจจุบัน คือ ต้นจาก ป่าจาก ซึ่งเกิดมาพร้อมกับตำบลบางใบไม้
พื้นที่บางใบไม้มีพื้นที่ต้นจากประมาณ 300 ไร่
ความสำคัญของต้นจากที่พบเห็นได้ คือ
1. ใบจาก
ใช้มุงหลังคาบ้านและสูบแทนบุหรี่ในสมัยโบราณ
2. ทางจาก
ใช้กั้นเป็นฝาบ้านหรือขัดกันตลิ่งพัง
3. ก้าน
ทำผลิตภัณฑ์กระจาด และเครื่องเสวียนหม้อ
4. ใบสด ใช้หอขนมจาก
5. งวง
ทำน้ำตาลหรือน้ำส้มจาก
6. ลูกจาก
กินสดหรือทำเป็นขนมลอยแก้ว
7. ราก
กันการพังของดินริมคลอง
รวมทั้งหมดของต้นจาก
เป็นร่มเงาและรักษาสภาพแวดล้อมของป่าชายเลนให้ กุ้ง ปู ปลา
อาศัยและปรับสภาพแวดล้อมให้เกิดความสมดุลในธรรมชาติ
จะเห็นได้ว่าสารพัดประโยชน์ในการใช้จากมาดัดแปลงและนำไปใช้ตามความเหมาะสม
ตามสภาพของการใช้ชีวิตประจำวัน และในเรื่องนี้จะนำเสนอสิ่งที่เป็นสุดยอดในภูมิปัญญาของตำบลบางใบไม้
ที่รักษาสืบทอดวัฒนธรรมต่อกันมาหลายช่วงอายุคน จนกระทั่งถึง นายพูน แตงกรด
หรือปราชญ์ชาวบ้าน ที่เราจะแนะนำให้รู้จักกัน นายพูน แตงกรด มีอายุ 65 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 51 ม. 5 ตำบลบางใบไม้ เป็นผู้รักษาสืบทอดวัฒนธรรม
โอ๊ะ..โอ
มีวิธารทำน้ำส้มจากมาฝากด้วย ว่าแต่ น้ำส้มจากเปนยังไง?? เป็นอย่างนี้ครับ..
การทำน้ำส้มจากตำบลบางใบไม้ โดยมีวิธีการทำ
ดังนี้
1. ตัดแต่งงวงจาก
ในระยะที่เกสรตัวผู้ยังไม่มีการผสม
2. โน้มงวงจากให้งวงอ่อน
เพื่อสำหรับงอเข้าใน ต้องทำหลายๆ ครั้ง เพื่อทรมานงวงอ่อนให้รู้สึกเจ็บ
แล้วใช้มีดคมๆ ปาดประมาณ 2 – 3 วัน จะมีน้ำหวานไหลออกมา
นำขวดหรือกระบอกไปรองรับ
นำไปเคี่ยวเป็นน้ำตาลหรือนำมาหมักเป็นน้ำส้มจากสำหรับไว้ทำอาหาร เช่น
ปลาต้มน้ำส้มจาก ซึ่งเป็นรสชาติเด็ดของอาหารที่เป็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวตำบลบางใบไม้
และเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อตามร้านอาหารในตำบล บางใบไม้ในปัจจุบัน
อุปส์...น่ากินไหมละ ขนมจากจ้า..
ขนมจาก
ส่วนประกอบ
1.แป้งข้าวเหนียวดำ 250 กรัม 2.แป้งข้าวเจ้า 220 กรัม
3. น้ำตาลปี๊บ 200กรัม
4.น้ำตาลทราย 300 กรัม
5.กะทิ
1/2-3/4 ถ้วย 6.มะพร้าวขูดขาวเป็นเส้นๆ
1 ลูก
7.เกลือ
1/2-1 ช้อนชา
ใบจาก ไม้กลัด วิธีทำ
1.ผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
2.ตัดใบจากให้ยาวประมาณ
10 นิ้ว เช็ดทำความสะอาดให้หมดฝุ่น
3.ตักส่วนผสมประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ใส่ลงใบจากตามยาวปิดให้แน่น กลัดด้วยไม้กลัดหัวท้าย
ปิ้งไฟอ่อนกลับด้านไปมาจนสุก *ทาน้ำมันบางๆเพื่อไม่ให้ขนมติดใบจาก
โอ้โฮ..!! มีการนำใบจากมามุงเป็นหลังคาด้วย สุดยอดจริงๆครับ
การมุงจาก
( ข้อมูลจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
คนสงขลา ตาสัน) ว่าไว้ดังนี้
ตาสันเล่าให้เราฟังว่า
ตนได้ยึดอาชีพหากินกับหลังคามุงจากเป็นหลักมาเกือบ ๒๐ กว่าปีแล้ว
สาเหตุที่เป็นแรงบันดาลใจให้ตนยึดอาชีพนี้เป็นหลักก็เพราะมีความสามารถในด้านนี้อยู่แล้ว
ตอนแรกๆเห็นเขาทำกันก็รู้สึกสนใจก็เลยลองทำด้วย
เมื่อลองทำก็รู้สึกว่าการทำหลังคามุงจากสามารถทำได้ไม่ยากเลย
อีกทั้งไม่ต้องใช้วิธีการฝึกฝนด้วย
วัสดุอุปกรณ์
และวัตถุดิบในการทำหลังคามุงจาก
มีใบชนิดหนึ่งที่ชาวใต้เรียกว่า “ใบเหรง” ซึ่งสามารถหาได้ทั่วไปตามป่า
บางทีหากไม่มีจริงๆ ตนก็จะรับซื้อมาจากที่อื่นในราคาแผ่นละ ๑ บาท
ถ้าคิดกำไรเมื่อทำเสร็จ แผงนึงตาสันก็จะได้ ๑๔ บาท
นอกจากใบเหรงแล้วยังมีลวดเหล็กสำหรับขึงและไม้ไผ่ด้วย ส่วนขั้นตอนในการทำ
เมื่อเตรียมวัสดุอุปกรณ์และใบเหรงพร้อมแล้ว ตาสันก็จะนำใบเหรงสดๆ ใหม่ ๆ มาตัดก้าน
แล้วเอาหนามออก จากนั้นก็เอามาฉีก ๒ ครั้ง นำมาประกบกันทั้ง ๒ แผ่นเล็ก
เอาไม้ไผ่มาหนีบ ซึ่งไม้ไผ่ที่จะนำมาใช้ได้นั้นจะต้องเป็นไม้ไผ่ชนิดกลม
แล้วนำมาผ่าเป็น ๒ ซีก เมื่อถึงขั้นตอนในการหนีบไม้ไผ่กับใบเหรงให้แน่นเข้าหากัน
ก็ต้องเอาลวดเหล็กมาขึงให้แน่นให้ได้ความยาวของแผง แผงละประมาณ ๒ เมตร
จากนั้นก็เอาแต่ละแผ่นเล็กที่ประกบกันแล้วในตอนแรกมาเรียงกันเป็นแถว
และทำแบบนั้นไปเรื่อยๆจนสุดปลายไม้ไผ่
ส่วนในด้านการขายหลังคามุงจากนั้น
ตาสันจะขายเป็นแผงๆ โดยขายในราคา ๒๐ บาทต่อแผง
ตาสันบอกว่าหลังคาชนิดนี้จะขายดีในช่วงฤดูฝน อันเนื่องมาจากคนที่ซื้อจะนำไปทำขนำเพื่อกันฝน
แต่พอเข้าสู่ฤดูแล้งก็ไม่ค่อยมีคนมาซื้อ ทำให้ตาขายไม่ค่อยได้นัก
เราถามตาสันว่าราคาต่อแผงถูกมากอย่างนี้แล้ว
เวลามีคนมาซื้อยังมีใครขอลดราคาอีกบ้างไหม
ตาสันบอกพร้อมกับเสียงหัวเราะแกมขำๆว่ามีอยู่แล้ว บางทีคนที่มาซื้อก็ขอไปเลยฟรีๆ
โดยไม่ยื่นปัจจัยยังชีพแก่ตาสันแม้แต่สตางค์แดงเดียว ตาก็ไม่ได้ว่าอะไร
ตาบอกว่าในเมื่อคนเขากล้าขอแบบนั้น เราก็ต้องให้ๆเขาไป
ถ้ามองในแง่ประโยชน์ของหลังคาชนิดนี้จะมีคุณสมบัติพิเศษตรงที่ว่า
มีน้ำหนักเบากว่าหลังคาชนิดอื่นๆ เยอะ
ช่วยผ่อนแรงและง่ายต่อการพกพาไปยังสถานที่ไกลๆ ส่วนในเรื่องของความทนทานนั้น
ตาสันบอกว่าหลังคามุงจากจะทนได้นานหรือไม่นานนั้นก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนในการขึงลวดหรือการเรียงแผ่นให้แน่น
เพราะถ้าหากผู้ที่ทำขึงได้แน่น ก็ยังผลให้ทนได้ถึง ๑๐ ปี กว่าจะเปื่อย ใ
นทางกลับกันถ้าหากขึงไม่แน่นเท่าที่ควรหรือทำแบบหละหลวม ไม่เป็นจริงเป็นจังจะทนได้แค่
๒-๓ ปีเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น